top of page

การตั้งปัญหา เป็นที่มาของการค้นและคิด


แนวทางของการสอนคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21

คุณครูควรลดความสำคัญของ "การคำนวณ" ที่สร้างความหวาดหวั่นให้เด็กในห้องเรียน เพราะเมื่อเขาคำนวณไม่ได้ เขาจะรู้สึกว่าตนเองโง่เกินกว่าจะเรียนคณิตศาตร์

เมื่อเขาจำสูตรไม่ได้ ท่องสูตรคูณไม่ได้ เขาอาจจะท้อแท้

เราควรให้เขารู้ว่า "คณิตศาสตร์เป็นกระบวนการ"

ที่จะช่วยให้เขามีการคิดอย่างมีเหตุผล

และที่สำคัญคือ คณิตศาสตร์จะช่วยอะไรให้เขาบ้างในชีวิตปัจจุบันและอนาคต

เราควรให้เขารู้ว่าการคำนวณ ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่สุดของการเรียน

เพราะเรามีเครื่องมือช่วยคำนวณ

เด็กควรเรียนรู้เรื่อง สัญญลักษณ์ อ่านเข้าใจความหมายของตัวเลข และแผนภูมิต่าง ๆ

เขาควรเข้าใจเรื่องของ ร้อยละ กราฟ และการมองปัญหาในชีวิต แปลออกมาเป็นโจทย์ทางคณิตศาสตร์ได้

"ซึ่งนั่นจะมีค่า มากกว่าการคำนวณ"

ดังนั้นในการสอนคณิตศาสตร์ยุคใหม่ จะเน้นให้เขารู้จักและใช้คณิตศาสตร์เบื้องต้น โดยยังไม่เน้นการคำนวณ

เช่น ให้เขาอ่านกราฟได้ เข้าใจความหมายของร้อยละ แปลความหมายได้

ส่วนการคำนวณ ครูอาจจะให้เขาใช้เครื่องคำนวณหรือโปรแกรมคำนวณอย่างเช่น excel เพื่อหาคำตอบได้ง่ายและเร็วกว่า

เด็กที่ไม่ชอบคำนวณก็จะหันมาสนใจคณิตศาสตร์ เพราะรู้สึกว่ามันไม่ยาก

และเมื่อเขาสนใจแล้ว การคำนวณก็จะตามมา

อีกส่วนหนึ่งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการสอนคณิตศาสตร์ คือ “การฝึกให้เด็กใช้คณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง"ครูยุคใหม่จะนำเอาเรื่องรอบตัวเด็กมาเป็นโจทย์ให้เขาคิด และหาทางใช้คณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ

ข้อสอบของ PISA ที่ใช้ประเมินผลเด็กทั่วโลก ก็เป็นข้อสอบลักษณะนี้ทุกข้อ คือเอา "ปัญหาจริง" มาให้เด็กตีความ อ่านกราฟ แปลงปัญหามาเป็น โจทย์ แก้ปัญหาโดยคณิตศาตร์

โดยไม่เน้นเฉพาะส่วนของการคำนวณครับ

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page