ผลงานวิจัย การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ
สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายกำธร ดิษธรรม
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน
เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อน
และหลังเรียนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ 3) ศึกษาความคิด
สร้างสรรค์ของผลงานที่เกิดจากกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติและ
4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคมจำ นวน 30คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์2(ศ22102) เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติด้วยกิจกรรม
การจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ
ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์
เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าที(t - test) ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.17/82.67 (E1/E2) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน
เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติสำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ระดับพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้
แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติจำ นวน 30คน มีค่าคะแนนเฉลี่ย81.94ระดับความคิดสร้างสรรค์
ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ภาพปะติดจากวัสดุ
ธรรมชาติสำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ความเป็นมาและความสำ คัญของปัญหาการวิจัย
การจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
เป็นวิชาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และการดำ เนินชีวิตในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมอย่างรวดเร็ว มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัดของนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียน
ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจากการฝึกปฏิบัติฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา กิจกรรมการเรียนรู้ต้องผสมผสานสาระ
ทั้งทางด้านเนื้อหาและด้านทักษะกระบวนการตลอดจนปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามถูกต้องและเหมาะสมให้แก่นักเรียน
สอดคล้องกับ นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์(2545)กล่าวไว้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญซึ่งเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า
การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำ คัญที่สุด คือ การจัดให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ
ของแต่ละคน บนความแตกต่างของนักเรียน ทั้งด้านความต้องการและความสนใจ ทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้
อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญาและการแสดงออกของการเรียนรู้
ที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เน้นการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้
มีทักษะและมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งวิจารณ์ พานิช (2555) ได้กล่าวไว้ว่า ทักษะที่จำ เป็นในการเรียนรู้และฝึกฝน คือ 1) ทักษะใน
การค้นคว้าหาความรู้ 2) ทักษะในการสื่อสาร การนำ เสนอ และการทำ งานเป็นทีม 3) ทักษะในการคิดสร้างสรรค์สอดคล้องกับ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CCPR Model ที่ ไพฑูรย์ สินลารัตน์(2557) ได้ให้ความหมายคือ1)การคิดวิเคราะห์(Critical Mind)
การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำ ปี 2558 “การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษา” 151
ในสังคมบริโภคนิยมนักเรียนมีความคิดวิเคราะห์ มีความเข้าใจเรียนรู้และเข้มแข็ง ไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อทั้งเศรษฐกิจ
การเมืองและสังคมก็ตาม 2) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Mind) มีความคิดสร้างสรรค์คิดสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตนเองและสังคม
3)การมีผลผลิต(Productive Mind)การนำความคิดไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม 4)การมีความรับผิดชอบ (Responsible Mind)
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก จากแนวคิดในการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ นำ ไปสู่
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity- based Learning)ซึ่งวิริยะ ฤาชัยพาณิชย์(2557)กล่าวไว้ว่า
การเรียนแบบใหม่ต้องการให้เด็กคิด เน้นให้นักเรียนค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง สร้างทักษะในการเรียนรู้สามารถนำ เสนอการเรียนรู้
ได้อย่างหลากหลายแยกแยะข้อมูลได้ ประกอบด้วยกระบวนการ8ขั้นตอน ในการจัดการเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้