การนำเสนอการจัดการเรียนรู้
กลุ่มที่ 1 สอนเรื่อง Job
จะเริ่มด้วยการสอนคำศัพท์ ซึ่งจะไม่เกิน 10 คำ ใช้วิธีการ 3P : Present, Practice และ Product
ขั้นที่ 1 ให้นักเรียนดูรูปภาพ หรือยูทูป กระตุ้นด้วยคำถามว่า อยากจะเป็นอะไร
ขั้นที่ 2 แจกกระดาษ A4 What you want to be? แล้วเด็กตอบคำถามว่าอยากจะเป็นอะไร
ขั้นที่ 3 จะให้เป็น Vocabulary party จะใช้วิธีการเปิดเพลง "เพลงที่มีงูออกมา" เปิดเพลงให้สนุกๆ พอไปเจอกัน ต้องแนะนำกัน What's your name? What do you want to be? เด็กจะพยายามพูดแข่งกับเสียงเพลง เด็กๆจะเกิดความสนุกสนาน บางคนถามเสร็จแล้วก็มาเต้นรอ
ขั้นที่ 4 ช่วยกันสรุปว่ามีอาชีพอะไรบ้าง และเลือกใช้ 4 tap book เลือกมา 4 อาชีพ เพื่อนำเสนออาชีพ ด้านนอกเป็นรูปภาพ ด้านในจะเป็น Definition ลักษณะอาชีพนั้น ช่วยให้เด็กๆเกิดความภูมิใจว่าเค้าทำชิ้นงานได้ และครูก็จะภูมิใจที่ช่วยให้เด็กๆได้เกิดการเรียนรู้
การประเมิน สามารถประเมินได้หลายช่วง
อาจใช้การบันทึกวิดีโอ สังเกตการใช้คำศัพท์ ถ้าเป็นห่วงว่าเด็กจะยังไม่ได้ความรู้มากพอ ก็มีการบ้านให้ได้
กลุ่มที่ 2 ห้องเรียน CBL การจัดกิจกรรมเรื่อง อริยสัจ 4
(มีเสียงฮือฮา...) เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม 1. ไหนใครเกิดไม่มีความทุกข์ โดยใช้ Poll everywhere จะแสดงให้เห็นว่า ทุกคนจะนำเสนอข้อมูล ว่าคนส่วนมากมีทุกข์ ถามต่อว่า มีความทุกข์เรื่องอะไร ประเภทไหน
- ใช้ 4 door book เพื่อดูว่าเป็นทุกข์อะไร เกิดจากอะไร ไล่ลำดับตามขั้นตอนของอริยสัจ 4
- จากนั้นแก้ปัญหา
- และไล่ไปเป็นขั้นตอน
กลุ่มที่ 3 สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการแต่งประโยค
เริ่มต้นการร้องเพลง "ประโยค" ร้องเพลงไป แล้วเปลี่ยนเนื้อเพลง
โดยให้ชื่อของเด็กเองประธาน ทำอะไร มีกรรมอะไร
โดยใช้สื่อคือ Foldables แบบแถบชั้น Layered book จากนั้นใช้บัตรคำ
ให้นักเรียนเลือกว่าจะเลือคำอะไร ฝึกสะกด หาพยัญชนะ ออกเสียงทีละตัว
ห น อู หนู จะช่วยให้เด็กจะกดคำได้
จากนั้นจะมีใบงาน ซึ่งเป็นรูปภาพ ให้เด็กๆระบายสี ฝึกให้เด็กๆระบายสีให้เป็นระเบียบ
จากนั้นให้แต่งประโยคจากภาพ
การวัดผล เราจะตรวจชิ้นงานเด็กจาก Layered book สังเกตการทำงานกลุ่ม
กลุ่มที่ 4 เรื่องเศษส่วน
เริ่มต้นด้วยการให้ความหมาย เช่น มีของ 1 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน นั้นคือ 1 ส่วน 2
จากนั้นมีสื่อจริง คือผลไม้ นำมาแบ่งเศษส่วน แบ่งตามกลุ่ม แต่ต้องเน้นว่า ทุกส่วนต้องเท่ากัน ตามนิยามของเศษส่วน
โดยจะให้เด็กยกตัวอย่าง แล้วใส่ลงใน Layered book ช่องที่ 1 คือรูปภาพ ช่องที่ 2 คือเศษ ช่องที่ 3 คือส่วน โดยไม่กำหนดโจทย์ให้เด็กออกแบบการแบ่งเศษส่วนเอง โดยครูจะคอยดูแลว่าเด็กจะต้องเข้าใจว่าแต่ละส่วนต้องแบ่งเท่ากัน
กลุ่มที่ 5 เรื่องคำราชาศัพท์ สำหรับนักเรียนระดับประถมปลาย
เริ่มจากการดูละครจักรๆวงศ์ๆ จากนั้นนักเรียนสังเกตว่า
มีคำพูดใดบ้างที่แตกต่างไปจากคำพูดของเราในปัจจุบัน
เพราะเหตุใด ให้นักเรียนศึกษาความหมายของคำเหล่านั้น
และออกแบบนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน
โดยครูจะยกตัวอย่างชิ้นงานคือ Foldables แบบ Vocabulary
ที่อธิบายคำราชาศัพท์ในการเรียกส่วนต่างๆของร่างกาย
ช่วงถาม-ตอบกับอาจารย์วิริยะ
คำถามที่ 1 จะทำอย่างไรให้เกิดการยอมรับ เพราะบางส่วนยังยึดติดกับเนื้อหา
ตอบ เราค่อยๆทำ ค่อยทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ มีความสุข มีกำลังใจ ในการทำงาน
คำถามที่ 2 ถ้าไม่สามารถสอนเกษตรในสถานการณ์จริงได้ ทำอย่างไร