สอนอย่างไรให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์
ผู้เขียนทํางานวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับครูไทยและเด็กไทย โดยวางเป้าหมาย
ของการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ว่า ควรเป็นรูปแบบการสอนที่ทําให้ ผู้เรียนมีทักษะในการคิดสร้างสรรค์
มากขึ้นจากการเรียน ไม่ว่าเนื้อหาวิชาเรียนจะเป็นเรื่องอะไร ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สุขศึกษาหรือแม้กระทั่งวิชาลูกเสือ เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น เป้าหมายของรูปแบบการสอนที่คณะทํางานและผู้เขียนร่วมวิจัยขึ้นมานี้ ใช้ทฤษฎีแนวคิดเรื่องความคิดสร้างสรรค์มาสร้างกระบวนการเรียนรู้และการประเมินผล เราจึงเรียกรูปแบบการสอนใหม่นี้ว่า การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity Based Learning หรือ CBL) นอกจากผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แล้ว รูปแบบการสอนนี้ ก็มีวัตถุประสงค์ตามมาตรฐานสามด้านเช่นเดียวกับรูปแบบการสอนสมัยใหม่รูปแบบอื่น นั่นคือ
1. ได้ความรู้จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ได้ฝึกฝนทักษะในศตวรรษที่ 21
3. ได้บ่มเพาะอุปนิสัยและทัศนคติ เพื่อเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพในสังคมโลก
เมื่อเอ่ยถึงสังคมโลก สภาพของโรงเรียนนานาชาติหรือที่เรียกกันติดปากว่าโรงเรียนอินเตอร์มักผุดขึ้นมาเป็นลำดับต้น ๆ ด้วยการจัดการเรียนรู้เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่ามีความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนะรรม ความทันสมัยของหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอน การ ใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียน รวมถึงความหลากหลายของกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียน เกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ครูจากโรงเรียนอินเตอร์ท่านหนึ่ง เคยทดลองนำรูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ไปใช้สอนวิชาภาษาไทยให้เด็กต่างชาติ ระดับประถมศึกษา โดยนำปัญหาในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง จากนั้น เด็กช่วยกันหาคําตอบจนค้นพบข้อมูล อันไปสู่การแก้ปัญหาของตนเองให้ลุล่วง เด็กอาจได้ รับความรู้จากการค้นหาในเวลาเรียน ก่อนเวลาเรียน หรือหลังเวลาเรียน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ความสะดวกทางด้านเวลาของเด็กแต่ละคนเป็นสําคัญ ครูเพียงทําหน้าที่ชี้ช่องทางไปหา แหล่งความรู้ให้แก่เด็กเท่านั้น ผลปรากฏว่า การสอนแบบ CBL สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเรียนของโรงเรียนอินเตอร์อย่างคาดไม่ถึง การนำ CBL มาใช้ จึงเป็นการเพิ่มสีสันให้แก่กระบวนการเรียนรู้ และช่วยลดช่องว่าง ของเด็กที่มีผลการเรียนแตกต่างกันลงอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างปัญหาของเด็กอินเตอร์ที่พบบ่อยในห้องเรียนวิชาภาษาไทยคือ เด็กอ่านออกเสียงไม่ชัด (สำเนียงเพี้ยน) ไม่รู้ความหมายของคำที่อ่าน และนำคำศัพท์ไปใช้ไม่ถูกต้อง การแก้ปัญหานี้ทำไม่ยาก เพียงออกแบบการสอนให้ตอบโจทย์ แล้วรอดูความสําาเร็จ โดยเริ่มจากตั้งปัญหาที่ใกล้ตัวกับผู้เรียนเป็นหลัก ยิ่งใกล้เท่าไหร่ก็ยิ่งจะเสริมแรงให้เด็ก เห็นปลายทางว่า
ตัวอย่างปัญหาที่ครูมอบหมายให้ไปค้นคว้า ดังนี้
• ทําอย่างไรจึงจะอ่านออกเสียงภาษาไทยได้ชัดเจน
• ทําาไมคนเกาหลีจึงอ่านออกเสียงไม่เหมือนคนอเมริกันอ่าน
• อ่านออกเสียงผิดจะทําให้ความหมายผิดตามไปด้วยหรือไม่ ฯลฯ
เมื่อได้ข้อมูลจากการค้นคว้า คุณครูให้เด็กจัดกลุ่มตามความสมัครใจ เด็ก ๆ ในห้องเรียนนี้มาจากหลากหลายเชื้อชาติ เมื่อจัดกลุ่มแล้ว เด็กจะได้รับแบบฝึกอ่านคนละหนึ่งชุด แล้วฝึกอ่านออกเสียงภายในกลุ่ม เมื่ออ่านแล้วสำเนียงผิดเพี้ยนหรือไม่ถูกต้อง เด็กจะมีคำแนะนำและช่วยกันปรับโทนเสียงกันเองภายในกลุ่ม การเรียนแบบนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในกลุ่ม มีกระบวนการบริหารจัดการที่น่าสนใจ ครูคอยสังเกตและให้คำแนะนำ ชั้นเรียนนี้เด็กเรียนอย่างสนุกและมีความสุข ตัวชี้วัดว่าการเรียนการสอนคาบเรียนนี้มีผลสัมฤทธิ์คือ หนึ่ง เด็กสามารถอ่านออกเสียงได้ สอง เด็กมีความเข้าใจเรื่องที่อ่านเพราะมีส่วนร่วมในการคิดและแปลความหมายจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสาร สาม เด็กมีโอกาสทำงานร่วมกันด้วยความสมัครใจ เพราะได้เลือกกลุ่มเอง จากการจัดการเรียนรู้แบบนี้ ทำให้คุณครูพบว่า ห้องเรียนปกติธรรมดาขนาดเล็กห้องนี้ สามารถกลายเป็น
• ห้องเรียนเป็นที่ซึ่งจุดประกายความอยากรู้
• ห้องเรียนเป็นห้องสมุดสุดขอบโลก
• ห้องเรียนเป็นเวทีแสดงผลงาน
• ห้องเรียนเป็นที่ฝึกวินัยแต่ให้เสรีภาพ
ห้องเรียนแห่งอนาคตกำลังขยายตัวไปทั่วทุกพื้นที่ของสถานศึกษาภายในประเทศไทยยุคไทยแลนด์ 4.0 แล้วครับ