หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาในระดับสากล คือ การเปลี่ยนการสอนและการวัดผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับสภาพการทำงานและการดำเนินชีวิตในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ซึ่งการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional learning approach) ไม่สามารถช่วยพัฒนาให้ ผู้เรียนมี คุณสมบัติพร้อมสู่อนาคต
ในศตวรรษที่ 21 จึงมีการสร้างรูปแบบการสอนรูปแบบใหม่ (New learning model) หลากหลายรูปแบบ เช่น Problem based-learning, Activity-based learning, Flipped classroom, STEM และอื่นๆ ตามแนวคิด และบริบทที่แตกต่างกัน แต่ทุกรูปแบบนั้นมีเป้าประสงค์ลักษณะเดียวกัน คือมุ่งให้ครูเปลี่ยนจากการสอนแบบ ดั้งเดิม (Traditional learning approach) มาเป็นการอำนวยการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ พร้อมสู่การทำงาน และการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ช่วยให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติ 3 ด้าน คือ
1. ด้านความรู้ (knowledge) การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม ผู้สอนมีบทบาทถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้แก่ผู้เรียน และเน้น การวัดผลจากการจดจำเนื้อหาความรู้นั้นๆ การเรียนการสอนรูปแบบใหม่สร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการนำความรู้มาใช้เพื่อ พัฒนา แก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรม การจัดเรียนการสอนรูปแบบใหม่จึงต้องเน้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะ ประเมินความน่าเชื่อถือ ประยุกต์และยืดหยุ่นต่อข้อมูลความรู้ 2. ด้านทักษะ (Skill) การเรียนการสอนรูปแบบใหม่สร้างให้ผู้เรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st century skills) เช่น ทักษะในการเรียนรู้ (Learning skill) ทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking skill) ทักษะในการคิด สร้างสรรค์ (Creative thinking skill) ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collabolation skill) ทักษะในการ สื่อสาร (Communication skill) ซึ่งในการเรียนการสอนรูปแบบเดิมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้และวัดผลจาก การจดจำเนื้อหา ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 3. ด้านคุณลักษณะ (Attribute) การเรียนการสอนรูปแบบเดิมเน้นหนักด้านการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge) ให้แก่ผู้เรียน เพียงด้านเดียวและวัดผลจากการจดจำเนื้อหา ส่งผลให้เกิดบรรยากาศการเรียนแบบแข่งขัน จึงไม่เป็นการส่ง เสริมให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันสอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เช่น ซื่อสัตย์ มีวินัย มุ่งมั่นในการ ทำงาน รับผิดชอบ ภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
ในประเทศไทยมีหลายองค์กรได้นำการสอนรูปแบบต่างๆ มาจัดอบรมสนับสนุนให้ครูเปลี่ยนแปลง การสอนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่การเรียนการสอนและการวัดผลส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตาม ที่ควร ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยห้องเรียนแห่งอนาคต (รายละเอียด เอกสารแนบ 1) จึงทำการวิจัยรูปแบบการ สอนรูปแบบใหม่ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning model) เป็นต้นแบบ ผนวกกับทฤษฎีและงานวิจัยด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นำมาพัฒนาเป็นการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based learning (CBL) เพื่อให้เหมาะกับบริบทครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เป็นหนึ่งในรูปแบบการสอนเชิงรุก (Active learning model) เช่นเดียวกับรูปแบบการสอนแบบใหม่อื่นๆ เช่น STEM, Problem-based learning, Activity-based learning หากแต่มีรายละเอียดของบรรยากาศและบริบทในกระบวนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความ คิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นหนึ่งในการคิดขั้นสูงของมนุษย์ และมีการนำเครื่องมือดิจิตอล เช่น ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชัน มาช่วยในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูสามารถเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะกับบริบทของตนได้
ภาพคุณครูผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรCBL โครงการคูปองครู2561